บทความที่ 10 if
การเขียนโปรแกรมให้ได้ผลลัพธ์ต่างๆ
ตามที่เราต้องการนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือ เงื่อนไขและการตัดสินใจของโปรแกรม
ซึ่งผมจะมากล่าวถึงเรื่องการสร้างเงื่อนไขของโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมของเราดำเนินไปตามขั้นตอนตามความต้องการของเรา
คำสั่ง if
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ โดยถ้าเป็นจริงจะไปทำงานในกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนดไว้
และถ้าเป็นเท็จก็จะไปทำงานอีกจุดหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือก อีกทางหนึ่งในโปรแกรม ผมจะแบ่งรูปแบบของคำสั่งออกเป็น
3 แบบ คือ แบบเงื่อนไขเดียว (simple if) ,แบบ 2 เงื่อนไข
(if…else) และแบบซ้อน (nested
if)
1 .แบบเงื่อนไขเดียว (simple if)
มีรูปแบบดังนี้

เราจะเห็นรูปแบบในการเขียนของคำสั่งนี้นะครับ โดยเงื่อนไขในวงเล็บนั้นจะเป็นประโยคทางตรรก
ถ้าตรวจสอบแล้วเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนด ไว้ในขอบเขตของเครื่องหมายปีกกา
แต่ถ้าเป็นเท็จก็จะข้ามไปทำส่วนต่อไปของโปรแกรมทันทีตามภาพ

ดูจากแผนภาพจะเห็นว่าเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงจะวิ่งมาตามลูกศรเข้ามาทำตามกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนด
แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะ วิ่งข้ามมาที่คำสั่งถัดไปซึ่งก็คือส่วนต่อไปของโปรแกรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำสั่ง
if นั่นเอง รูปแบบนี้เป็น simple if นะครับ ลองมาดูตัวอย่างที่เป็นโปรแกรมกันเลยครับ

อธิบายโปรแกรม จากโปรแกรมจะีประกาศตัวแปรไว้
3 ตัวคือ x = 8 , y = 2
และตัวแปร z คำสั่ง if มีเงื่อไข ว่า x
มากกว่าหรือเท่ากับ y ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะเข้ามาทำคำสั่งภายในเครื่องหมายปีกกาทันที
คือให้หาค่าของ x-y และแสดงผลออกมา แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะข้ามาทำส่วน
ต่อไปของโปรแกรมคือ หาค่าของ x+y และแสดงผลออกมา
เมื่อรันโปรแกรมนี้แล้วจะได้ผลลัพธ์คือ z = 6 และ
z = 10 ครับ ให้ลองเปลี่ยนค่า x
ให้น้อยกว่าค่า y ดูนะครับ แล้วลองรันโปรแกรมดูใหม่ครับว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร
?
สำหรับคำสั่งประเภท simple if
นั้นใช้งานได้ง่ายเพียงสร้างเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อให้มันทำงานเวลาที่เงื่อนไขเป็นจริง
แต่ถ้าเรามีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางเราควรจะเปลี่ยนไปใช้คำสั่งที่เหมาะสมขึ้นซึ่งผมจะพูดถึงคำสั่ง
if..else ในบทความต่อไปครับ

|