Untitled Document
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่า
"สวัสดี" กับผู้อ่านทุกท่านนะครับ
และขอขอบคุณที่เ้ข้ามาแวะชมและอ่านบทความใน เว็บไซต์ webthaidd.com รวมทั้งผู้อ่านที่มีความสนใจในบทความภาษา
C และ C++ นะครับ
จุดเริ่มต้นของภาษาซี
ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis
Ritchie แห่ง Bell Labs
โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ
UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis
Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R
(Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า "The
C Programming Language" โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้
ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National
Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า
"ANSI C"

Dennis Ritchie
ภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน
ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง
(Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก
กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้
เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับ
เหตุผลที่ควรเรียนภาษาซี
ก็เนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl,
JAVA เป็นต้น
จาก
C สู่ C++
ถูกพัฒนาโดย Bjarne Stroustrup
แห่ง Bell Labs โดยได้นำเอาภาษา
C มาพัฒนาและใส่แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ OOP
(Object Oriented Programming) เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาของ C++
ก็คือ นำภาษา C มาพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Bjarne Stroustrup
จำเป็นไหม?
ที่ต้องเรียนภาษา C ก่อน เรียน C++ เลยไม่ได้เหรอ?
คำตอบก็คือ คุณจะเรียน C++ เลยก็ได้ครับ โดยไม่ต้องศึกษาภาษา
C มาก่อน แต่ถ้าคุณเข้าใจหลักการทำงาน และการเขียนโปรแกรมภาษา C แล้วจะสามารถต่อยอด
C++ ได้เร็วกว่า อีกทั้งยังสามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ
ได้อีก ซึ่งในบทความในช่วงแรกผมจะนำเสนอหลักและแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษา C ก่อนนะครับ
เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในพื้นฐานก่อนนะครับ
ต่อไปจะขอเกริ่นถึงการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างสักเล็กน้อยก่อนนะครับ
แล้วก็จะเริ่มเข้ากระบวนการการเขียนโปรแกรมกัน
ลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้าง
การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ก็คือ
การนำโครงสร้างของคำสั่งหลายๆ รูปแบบ
นำมาใช้ในโปรแกรม โดยจะมีการใช้คำสั่้งลักษณะ
goto ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ก็มี ภาษา C, Pascal และ
Cobol เป็นต้นครับ ผมจะยกตัวอย่างในภาษา C ในรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างให้ดูดังด้านล่างนะครับ

ภาพ: โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีแบบง่ายๆ
แสดงถึงโครงสร้าง
จากโปรแกรมข้างต้นนะครับ สามารถแบ่งโครงสร้างตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้
3 ส่วนหลักๆ นะครับ ก็คือ
ส่วนที่ 1 ประกาศค่าตัวแปร และ
การกำหนดค่าให้กับตัวแปร (Declare)
ส่วนที่ 2 เพิ่มค่า และเก็บค่าไว้ในตัวแปร
(Calculation)
ส่วนที่ 3 แสดงผลทางจอภาพ (Display)
ซึ่งการทำงานของโปรแกรมแบบโครงสร้างนั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถแก้ไขได้สะดวกครับ

|